เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำวิจัย เรื่อง การศึกษาการอ่านภาษาอังกฤษไม่ออกของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่3 โรงเรียนวัดราชโอรสครั้งนี้ ผู้ทำการวิจัยได้รวบรวมแนวคิด
และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
ดังนี้
1.
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.1
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พุธศักราช 2545และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่3)
พุทธศักราช 2553
1.2
หลักสูตรการศึกษาแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
1.3
สาระการเรียนรู้
1.4
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง( ม.1 – ม.3
)
1.5
คำอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษ(ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3)
-
ภาษาต่างประเทศ
1
-
ภาษาต่างประเทศ
2
1.6 ทำไมต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
1.7
เทคนิคการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ
2.
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1
งานวิจัยในประเทศ
2.2
งานวิจัยต่างประเทศ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พุธศักราช 2545และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่3)
พุธศักราช 2553
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พุทธศักราช 2542และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช
2545 ได้กำหนดให้การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้
เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม
การสร้างสรรค์ความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม
สังคมแห่งการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม
จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
เปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
พัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไป
อย่างต่อเนื่อง หมวด 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา ตามมาตรา 22 ระบุว่า“แนวการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียน มีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ”การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
จะต้องส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนรู้หลักการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ใฝ่เรียน
ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และสร้างองค์ความรู้ได้
ด้วยตนเองนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดมาตรา 23 การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญ ทั้งความรู้
คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ มาตรา 24 ได้กำหนดให้จัดกระบวนการเรียนรู้
จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด
การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกัน และแก้ไขปัญหา
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น และทำเป็น
รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้
อย่างต่อเนื่องจัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม
ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมสื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
มีความรอบรู้ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง
ๆ(กรมวิชาการ. 2545 : 7 - 8)
การจัดการเรียนการสอนตามแนวทางที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช
2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
พุทธศักราช 2545
ที่ระบุไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า
ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญมากที่สุด
กระบวนการเรียนรู้จึงมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
ทั้งผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย การจัดกิจกรรมให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
ฝึกปฏิบัติ ทำได้ คิดเป็น แก้ปัญหาได้ การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาจึงควรนำแนวทางดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียน
การสอน
โดยเฉพาะสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมมีสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนมาก
ดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงต้องให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลายทั้งที่อยู่ใกล้ตัวและไกลจากตัวผู้เรียนตามความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพของสาระการเรียนรู้
ตัวผู้เรียน สภาพแวดล้อม ความต้องการและความสนใจของผู้เรียนซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ทักษะ เจตคติต่อสิ่งที่เรียนและเกิดความคงทนในการเรียนรู้(กรมวิชาการ. 2545: 1)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่3) พุทธศักราช 2553การบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึง
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมอื่น แบ่งเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษามีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่
แก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน การกำหนดให้โรงเรียนใดอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การ
ศึกษามัธยมศึกษา ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งการกำกับดูแล ประสาน
ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
หลักสูตรการศึกษาแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุธศักราช 2551
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ทําไมต้องเรียนภาษาต่างประเทศ
ในสังคมโลกปัจจุบัน
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมีความสําคัญและจําเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจําวัน
เนื่องจากเป็นเครื่องมือสําคัญในการติดต่อสื่อสาร
การศึกษา การแสวงหาความรู้ การประกอบอาชีพ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิสัยทัศน์ของชุมชนโลก
และตระหนักถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมุมมองของสังคมโลก
นํามาซึ่งมิตรไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่างๆ
ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความเข้าใจตนเองและผู้ อื่นดีขึ้น เรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การคิด
สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง
มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาต่างประเทศ และใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ รวมทั้งเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ ได้ง่ายและกว้างขึ้น และมีวิสัยทัศน์ในการดําเนินชีวิตภาษาต่างประเทศที่เป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐาน
ซึ่งกําหนดให้เรียนตลอดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น เช่น ภาษาฝรั่งเศส
เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น อาหรับ บาลี และภาษากลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน หรือภาษาอื่นๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะจัดทํารายวิชาและจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม
เรียนรู้อะไรในภาษาต่างประเทศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มุ่งหวังให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อ ภาษาต่างประเทศ
สามารถใช้ภาษาต่างประเทศ สื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสวงหาความรู้ประกอบอาชีพ
และศึกษาต่อ ในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก
และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ประกอบด้วยสาระสําคัญ
ดังนี้
· ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แลกเปลี่ยนข้อมูล
· ข่าวสาร
แสดงความรู้สึกและความคิดเห็น
ตีความ นําเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอดและความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างเหมาะสม
· ภาษาและวัฒนธรรม การใช้ภาษาต่างประเทศตามวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาความสัมพันธ์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับวัฒนธรรมไทย และนําไปใช้อย่างเหมาะสม
· ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น การใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
เป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้และเป็นโลกทัศน์ของตน
· ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก การใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ
ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ชุมชน และสังคมโลก เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ ประกอบอาชีพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่
๑ ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน
ต ๑.๑ เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมี เหตุผล
มาตรฐาน
ต ๑.๒
มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก
และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน
ต ๑.๓ นําเสนอข้อมูลข่าวสาร ความคิดรวบยอด
และความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ โดยการพูดและการเขียน
สาระที่
๒ ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน
ต ๒.๑ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
และนําไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน
ต ๒.๒ เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย
และนํามาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
สาระที่
๓ ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน
ต ๓.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้และเป็นโลกทัศน์ของตน
สาระที่ ๔
ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน
ต ๔.๑ ใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์ต่างๆ
ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน
ต ๔.๒ ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพ และ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
สาระที่ 1
ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต
1.1 เข้าใจ
และตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ
และแสดงความ
คิดเห็นอย่างมีเหตุผล
ชั้น
|
ตัวชี้วัด
|
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
|
ม.1
|
1.
ปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ ที่ฟัง
|
· คำสั่งที่ใช้ในห้องเรียน
เช่น Stand up/ Sit down/ Listen/ Repeat/ Quiet/ Stop! etc.
|
2.
ระบุตัวอักษรและเสียง
อ่านออกเสียงและสะกดคำง่าย ๆ
ถูกต้องตามหลักการอ่าน
|
· ตัวอักษร (letter names) เสียงอักษรและสระ (little sounds) และการสะกดคำ หลักการอ่านออกเสียง เช่น
-
การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำ
-
การออกเสียงเน้นหนัก-เบา (Stress) ในคำและกลุ่มคน
-
การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ (intonation) ในประโยค
· คำ กลุ่มคำ และความหมายเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว
โรงเรียน
สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว อาหาร เครื่องดื่ม
และนันทนาการภายในวงคำศัพท์ประมาณ
150-200 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรม)
|
|
3.
เลือกภาพตรงตามความหมายของคำและกลุ่มคำที่ฟัง
|
ชั้น
|
ตัวชี้วัด
|
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
|
|
4.
ตอบคำถามจากการฟังเรื่องใกล้ตัว
|
· บทอ่านเกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัวหรือนิทานที่มีภาพประกอบ
· ประโยคคำถามและคำตอบ
-
Yes/No
Question เช่นIs
it a/an…? Yes, it is./No, it is not. etc.
-
What-Question เช่นWhat is it? It is
a/an…. etc.
|
||
ม.2
|
1. ปฏิบัติตามคำสั่ง และคำขอร้อง ง่าย ๆ
ที่ฟัง
|
· คำสั่งที่และคำขอร้องที่ใช้ในห้องเรียน
-
คำสั่ง เช่น
Show me a/an…/Open your book.
Don’t talk in class. ect.
-
คำขอร้อง เช่น
Please come here./Come here,
please. Don’t make a loud noise, please./Please don’t make a loud noise. ect.
|
|
2. ระบุตัวอักษรและเสียง อ่านออก เสียงและสะกดคำ และอ่านประโยคง่าย ๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน
|
· ตัวอักษร
เสียงอักษรและสระ การสะกดคำ และประโยค
หลักการอ่านออกเสียง เช่น
-
การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำ
-
การออกเสียงเน้นหนัก-เบา และกลุ่มคำ
-
การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ ในประโยค
|
||
3.
เลือกภาพตรงตามความหมายของคำ
กลุ่มคำ
และประโยคที่ฟัง
|
· คำ กลุ่มคำ ประโยคเดี่ยว (Simple sentence) และความหมายเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว
โรงเรียน
สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว อาหาร
เครื่องดื่ม
|
||
และนันทนาการภายในวงคำศัพท์ประมาณ 250-300
คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรม)
|
|||
4.
ตอบคำถามจากการฟังเรื่องใกล้ตัว
|
· ประโยค บทสนทนา หรือนิทานที่มีภาพประกอบ ประโยคคำถามและคำตอบ
-
Yes/No
Question เช่นIs
this/that a/an…? Yes, it is./No, it isn’t. etc.
-
Wh-Question เช่นWhat is
this/that/it? This/that/It is a/an…. How many…?
There is/are…
Where is the…?
It is
in/on/under…etc.
|
||
ม.3
|
1.
ปฏิบัติตามคำสั่ง
และคำขอร้องที่ฟังหรืออ่าน
|
· คำสั่งและคำขอร้องที่ใช้ในห้องเรียน
-
คำสั่ง เช่น
Give me a/an…/Draw and color the
picture./Put a/an…in /on/under a/an…/Don’t eat in class. ect.
-
คำขอร้อง เช่น
Please take a queue./ Take a
queue, please./ Don’t make a loud noise, please./ Please, don’t make a loud
noise./ Can you help me, please? ect.
|
|
2.
อ่านออกเสียงและสะกดคำ อ่านกลุ่มคำ ประโยค
และบทบาทเข้าจังหวะ (chant)
ง่าย ๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน
|
· คำ กลุ่มคำ ประโยคเดี่ยว และบทพูดเข้าจังหวะ และสะกดคำ
· การใช้พจนานุกรม
· หลักการอ่านออกเสียง
เช่น
-
การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและ
|
||
พยัญชนะท้ายคำ
-
การออกเสียงเน้นหนัก-เบา และกลุ่มคำ
-
การออกเสียงตามระดับเสียงสูง-ต่ำ ในประโยค
|
|||
3. เลือก/ระบุภาพหรือสัญลักษณ์ตรง
ตามความหมายของคำกลุ่มคำ และ
ประโยคที่ฟัง
|
· กลุ่มคำ
ประโยคเดี่ยว
สัญลักษณ์และความหมายเกี่ยวกับตนเอง
ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อมใกล้ตัว อาหาร
เครื่องดื่ม
และนันทนาการเป็นวงคำศัพท์สะสมประมาณ
350-450 คำ
(คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรม)
|
||
4 ตอบคำถามจากการฟังหรืออ่าน
ประโยค
บทสนทนา หรือนิทาน
ง่าย ๆ
|
· ประโยค บทสนทนา หรือนิทานที่มีภาพประกอบ
· ประโยคคำถามและคำตอบ
-
Yes/No
Question เช่นIs/Are/Can…? Yes…is/are/can/
No….isn’t/aren’t/can’t.
etc.
-
Wh-Question เช่น What is
this/that/it?
This/that/It is a/an… How many…? There
is/are…. Where is/are….? It is They are etc.
![]() |
คำอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษ(ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3)
วิชาภาษาอังกฤษ
1
ฝึกทักษะการปฏิบัติตาม
คำขอร้อง คำแนะนำ และคำชี้แจง ที่ฟังและอ่าน การอ่านออกเสียงข้อความ ข่าว
โฆษณา และบทร้อยกรองสั้นๆ ถูกต้องตามหลักการอ่าน การสนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เรื่องต่าง ๆ
ใกล้ตัว เศรษฐกิจพอเพียง และสถานการณ์ต่าง
ๆ ข่าว
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของสังคม
และสื่อสารอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
การใช้คำขอร้อง ให้คำแนะนำ คำชี้แจง
และคำอธิบายอย่างเหมาะสม
การพูดและเขียนแสดงความต้องการขอความช่วยเหลือ ตอบรับ
และปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่าง ๆ การพูดและเขียนบรรยายเกี่ยวกับตนเองกิจวัตรประจำวัน ประสบการณ์และข่าว / เหตุการณ์ เรื่อง /
ประเด็นต่าง ๆ ที่อยู่ในความสนใจของสังคม
การพูด/เขียนสรุปใจความสำคัญ/แก่นสาระและหัวข้อเรื่อง/ ข่าว /
เหตุการณ์ ที่อยู่ในความสนใจของสังคม การเลือกใช้ภาษา น้ำเสียง
และกิริยาท่าทางสุภาพ
เหมาะสมกับบุคคลและโอกาส
ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
การเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการออกเสียงประโยคชนิดต่าง
ๆ
และการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย การค้นคว้า
รวบรวม และสรุปข้อมูล/ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้และนำเสนอด้วยการพูด/การเขียน
การใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จำลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและสถานศึกษาและชุมชน
โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ใช้ภาษาในการสื่อสาร ทักษะการฟัง
การพูด การอ่าน การเขียน
สถานการณ์ต่าง ๆ
ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เห็นคุณค่าของการเรียนภาษาต่างประเทศ มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความกระตือรือร้น มีมารยาทในการฟัง การพูด
การอ่าน การเขียน มีคุณธรรมจริยธรรม มีสัมมาคารวะ
และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาต่างประเทศ
วิชาภาษาอังกฤษ 2
ฝึกทักษะระบุและ
เขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่าง ๆ
ให้สัมพันธ์กับประโยคและข้อความที่ฟังหรืออ่าน เลือก/ระบุหัวข้อเรื่อง ใจความสำคัญ
บอกรายละเอียดสนับสนุน
และแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและอ่านพร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างการพูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลบรรยายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่านการพูดและเขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง
ๆ กิจกรรมต่าง เศรษฐกิจพอเพียง และประสบการณ์ พร้อมทั้งให้เหตุผล
ประกอบอย่างเหมาะสมอย่างเหมาะสมการพูดและเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมประสบการณ์และเหตุการณ์ พร้อมทั้งให้เหตุผล ประกอบอธิบายเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม
และประเพณีของเจ้าของภาษาการเข้าร่วม/กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมตามความสนใจการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับของไทย และนำไปใช้อย่างเหมาะสม การใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้าความรู้/ข้อมูลต่าง
ๆ จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพการเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโรงเรียนเป็นภาษาต่างประเทศ
โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ใช้ภาษาในการสื่อสาร ทักษะการฟัง
การพูด การอ่าน การเขียน
สถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
เห็นคุณค่าของการเรียนภาษาต่างประเทศ
มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน
มีความกระตือรือร้น
มีมารยาทในการฟัง การพูด การอ่าน
การเขียน มีคุณธรรมจริยธรรม มีสัมมาคารวะ
และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาต่างประเทศ
เทคนิคการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading Skill)
การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ
คือ การอ่านออกเสียง (Reading
aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย
เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน
ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา
ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้
ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ
ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
เทคนิคการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading Skills)
การอ่านภาษาอังกฤษ มี 2 ลักษณะ
คือ การอ่านออกเสียง (Reading
aloud) และ การอ่านในใจ (Silent Reading ) การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy) และความคล่องแคล่ว ( Fluency) ในการออกเสียง ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย
เช่นเดียวกับการฟัง ต่างกันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน
ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษา
อังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้
ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ
ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1. เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง
และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
(1) Basic Steps of Teaching ( BST) มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด
1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
- ครูอ่านทีละประโยค
/ นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
- ครูอ่านทีละประโยค
/ นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้
ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
- นักเรียนอ่านคนละประโยค
ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
- นักเรียนฝึกอ่านเอง
- สุ่มนักเรียนอ่าน
(2) Reading for Fluency (
Chain Reading) คือ
เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป
เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่ เช่น ครูเรียก Chain-number One นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51 จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป
หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ
เปลี่ยน Chain-number
ใหม่
(3) Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี
อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4) Speed Reading คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน
อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้
อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ
เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว(Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5) Reading for Accuracy คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation /
cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง
( Pronunciation)
โดยอาจนำเทคนิค
Speed Reading มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ
จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว(Fluency) ควบคู่กันไป
1.2 การอ่านในใจ
ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง
โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน(Post-Reading) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน
โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท
ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน
คือ
ขั้น Personalization
เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู
กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
ขั้น Predicting
เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน
โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน
แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ
อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น
ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ
อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน
เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน
และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ หรือ
ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน
โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2) กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น
กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้
ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น
การฟัง หรือ การเขียน อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย
เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา
กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
Matching คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค
เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
Ordering คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ
เรียงประโยค (Sentences)
ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน ( Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง
ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
Correcting คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ
ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
Deciding คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ( Multiple Choice) หรือ เลือกประโยคถูกผิด ( True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ
เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง ( Fact) หรือ
เป็นความคิดเห็น ( Opinion)
Supplying / Identifying คือ อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic Sentence) หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion) หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title) หรือ
ย่อเรื่อง (Summary)
หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific Information)
3) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน
ทั้งการฟัง การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว
โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน
เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้ ความถูกต้องของคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์
หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ
สำหรับผู้เรียนระดับสูง
อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น
หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน เป็นต้น
ทำไมต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ภาษาคือกุญแจสำคัญของความรู้ ถ้านักเรียนไม่สามารถเข้าใจภาษาแล้วเขาไม่สามารถที่จะรับข้อมูลหรือความรู้ในภาษานั้นได้
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐจะต้องพัฒนา
ปัจจุบันภาษาอังกฤษมีความสำคัญมาก
เพราะองค์ความรู้และข่าวสารที่สำคัญๆมากกว่า 80% ในโลกนี้รายงานหรือบันทึกไว้เป็นภาษาอังกฤษ
การเริ่มต้นเรียนภาษาตั้งแต่ยังเยาว์จะนำไปสู่ความชำนาญสูง
รัฐบาลต้องเริ่มให้ความสนใจในเรื่องนี้ เพราะถ้าหากว่าเราไม่เริ่มแต่วันนี้
ประเทศเราก็จะเป็นประเทศที่ล้าหลัง จะตามประเทศอื่นไม่ทัน
และตกเป็นอาณานิคมทางเศรษฐกิจของประเทศอื่นอย่างถาวร
ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนรุ่นใหม่
และอนาคตของประเทศ ไม่เฉพาะแต่ประเทศไทย แต่ทุกๆประเทศ
เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการของชาวโลก
ถ้าประเทศไทยต้องการที่จะก้าวไปให้เทียมบ่าเทียมไหล่นาๆอารยะประเทศแล้ว
--ซึ่งถ้าจะเปรียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้วไทยเรามีศักยภาพมากกว่าหลายเท่า
แต่เราแพ้เขาเพราะคนของเราไม่รู้ภาษาอังกฤษ?
ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองของประเทศให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แทนที่จะรีรอหรือกลัวว่าประเทศ
"จะตกเป็นอาณานิคม" ของประเทศอื่น
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศ
การพัฒนาหลักสูตรแบบเข้มเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและเพื่อส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดี่ยว
(One Group Pretest Posttest Experiment) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษทักษะฟัง-พูดก่อนและหลังการเรียนตามหลักสูตรแบบเข้มของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อเปรียบเทียบทัศนคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังการเรียนตามหลักสูตรแบบเข้มของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อศึกษาปฏิกิริยาในการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนตามหลักสูตรแบบเข้มและเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามหลักสูตรแบบเข้มกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์อำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 25คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการสอนตามแนวคิดการสอนโดยใช้งานเป็นหลัก(Task-Based
Language Teaching) จำนวน 3 ชิ้นงานใช้สอนเป็นเวลา 16
วันๆละ 5 ชั่วโมงรวม80 ชั่วโมงโดยทำการทดลองและเก็บข้อมูลในช่วงปิดภาคฤดูร้อนของปีการศึกษา
2548 และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษทักษะการฟัง-พูดแบบวัดทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังการเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษแบบเข้มแบบสังเกตการเรียนการสอนและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรภาษาอังกฤษแบบเข้มหลังจากที่ผู้เรียนเรียนตามหลักสูตรแบบเข้มผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ
(SPSS for Windows) และเปรียบเทียบข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ
t-test แบบ one-tail
การพัฒนาทักษะการอ่านคาศัพท์ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2/3 สาขางานช่างยนต์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกการอ่านคาพ้องภาษาอังกฤษ–ไทย
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านคาศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกการอ่านคาพ้องภาษาอังกฤษ - ไทยของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรชั้นปีที่ 2/3 สาขางานช่างยนต์วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดาเนินงานวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขางานช่างยนต์วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่นที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสนทนา 1 รหัสประจาวิชา 2000-1221 ซึ่งมีนักเรียนจานวน 15 คนที่มีปัญหาในการอ่านออกเสียงสะกดคาบอกความหมายผิดจานวน 15 คนเกณฑ์ที่ใช้การวัดและประเมินผลผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลาดับดังนี้ตอนที่1 การเปรียบเทียบคะแนนทักษะการอ่านคาศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกการอ่านคาพ้องภาษาอังกฤษ – ไทยของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแต่ละคนนาเสนอโดยใช้กราฟเส้นตอนที่2 ความคิดเห็นของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการเรียนการอ่านคาศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกการอ่านคาพ้องภาษาอังกฤษ – ไทยซึ่งผู้วิจัยได้พบว่านักเรียนที่เข้ารับการทดลองเกี่ยวกับการเรียนการอ่านคาศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกการอ่านคาพ้องภาษาอังกฤษ – ไทยมีช่วงคะแนนของกราฟเส้นที่สูงขึ้นตามลาดับ
งานวิจัยต่างประเทศ
A Study of the English
Reading Strategies of Hungarian University Students with Implications for
Reading Instruction in an Academic Context
The aim of this study is to
provide a picture of the met cognitive awareness of reading strategies of a
group of Hungarian university students majoring in English, with a view to
offering suggestions for developing reading skills improvement programmes.
Participants were 86 students in the first or second year of their studies, who
completed the Survey of Reading Strategies of Hungarian College Students, which
aims to reveal the type of reading strategies respondents report using when
reading academic materials in English. The results of the study reveal that on the
whole there is a fairly high awareness of all the strategies included in the
survey, with a preference among the respondents for problem solving strategies,
followed by global and support strategies. Not unexpectedly, the factors that
correlate with strategy use awareness are gender, self-rated reading ability,
and time spent on reading: females, students who rated themselves higher on the
reading ability scale and those who reported spending 7-9 or more hours a week
reading study-related materials showed significantly higher levels of strategy
usage concerning one or more subscales of the instrument or overall strategy
use. These findings confirm the gender effect and patterns of strategy use
identified by studies carried out in a variety of contexts. However, when
reading ability was measured by a different instrument, an objective reading
test, about 30% of the respondents with a high met cognitive awareness and with
correlating high self-rated reading ability proved to be poor readers. The
paper also examines what the latter finding suggests for reading instruction.(KatalinMónos,University
of Debrecen, Hungary,2003)
การศึกษากลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยฮังการีที่มีผลกระทบสำหรับการอ่านการเรียนการสอนในบริบทวิชาการ
จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้คือการให้ภาพของการรับรู้ได้พบกับองค์ความรู้ของกลยุทธ์ในการอ่านของกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยฮังการีวิชาเอกภาษาอังกฤษมีมุมมองที่จะให้บริการคำแนะนำสำหรับการพัฒนาทักษะการอ่านโปรแกรมปรับปรุง
จำนวนทั้งสิ้น 86 คนในปีแรกหรือครั้งที่สองของการศึกษาที่เสร็จสิ้นการสำรวจใช้กลวิธีการอ่านของนักศึกษาวิทยาลัยฮังการีซึ่งมุ่งเน้นการเปิดเผยของผู้ตอบแบบสอบถามกลยุทธ์การอ่านของพวกเขาแจ้งเมื่อมีการอ่านโดยใช้วัสดุในการศึกษาภาษาอังกฤษ
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในภาพรวมมีการรับรู้ที่ค่อนข้างสูงของกลยุทธ์ทั้งหมดที่รวมอยู่ในการสำรวจที่มีการตั้งค่าในหมู่ผู้ตอบแบบสอบถามสำหรับกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาตามกลยุทธ์ทั่วโลกและการสนับสนุน
ไม่คาดคิดปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้การใช้กลยุทธ์เป็นเพศความสามารถในการอ่านด้วยตนเองที่นิยมและเวลาที่ใช้ในการอ่าน:
หญิงนักเรียนที่ให้คะแนนตัวเองสูงขึ้นในระดับความสามารถในการอ่านและบรรดาผู้ที่รายงานการใช้จ่าย
7-9 ชั่วโมงหรือมากกว่า
สัปดาห์การอ่านวัสดุการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการแสดงให้เห็นว่าระดับที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของการใช้กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่ง
subscales จากการใช้กลยุทธ์เครื่องมือหรือโดยรวม
การค้นพบนี้ยืนยันผลเพศและรูปแบบของการใช้กลยุทธ์การระบุโดยการศึกษาการดำเนินการในความหลากหลายของบริบท
แต่เมื่อความสามารถในการอ่านโดยวัดจากเครื่องมือที่แตกต่างกันการทดสอบการอ่านวัตถุประสงค์ประมาณ
30% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความรู้ความเข้าใจในการรับรู้สูงและพบกับความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการอ่านสูงด้วยตนเองนิยมพิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้อ่านที่ดี
กระดาษยังตรวจสอบว่าสิ่งที่ค้นพบหลังแนะนำสำหรับการอ่านการเรียนการสอน
EFFECTIVE
READING PROGRAMS FOR ENGLISH LANGUAGE LEARNERS A Best-Evidence Synthesis
This
report reviews experimental studies of reading programs for English language
learners, focusing both on comparisons of bilingual and English-only programs
and on specific, replicable models that have been evaluated with English
language learners. The review method is best-evidence synthesis, which uses a
systematic literature search, quantification of outcomes as effect sizes, and
extensive discussion of individual studies that meet inclusion standards. The
review concludes that while the number of high-quality studies is small, existing
evidence favors bilingual approaches, especially paired bilingual strategies
that teach reading in the native language and English at the same time. Whether
taught in their native language or English, English language learners have been
found to benefit from instruction in comprehensive reform programs using
systematic phonics, one-to-one or small group tutoring programs, cooperative
learning programs, and programs emphasizing extensive reading. Research using
longitudinal, randomized designs is needed to understand how best to ensure
reading success for all English language learners.(Robert E. Slavin Johns Hopkins University,2003)
การอ่านโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษที่ดีที่สุดการสังเคราะห์หลักฐาน
รายงานนี้แสดงความคิดเห็นการศึกษาทดลองของการอ่านโปรแกรมสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษโดยมุ่งเน้นทั้งในการเปรียบเทียบของโปรแกรมสองภาษาและภาษาอังกฤษอย่างเดียวและเฉพาะในรูปแบบการจำลองแบบที่ได้รับการประเมินผลด้วยผู้เรียนภาษาอังกฤษ
วิธีการทานที่ดีที่สุดคือการสังเคราะห์หลักฐานที่ใช้ค้นหาวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเชิงปริมาณของผลที่มีขนาดผลและการอภิปรายที่กว้างขวางของการศึกษาของแต่ละบุคคลที่ได้มาตรฐานรวม
บทสรุปว่าในขณะที่จำนวนของการศึกษาที่มีคุณภาพสูงที่มีขนาดเล็กหลักฐานที่มีอยู่สองภาษาโปรดปรานวิธีจับคู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์สองภาษาที่สอนการอ่านในภาษาพื้นเมืองและภาษาอังกฤษในเวลาเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นการสอนในภาษาพื้นเมืองของพวกเขาหรือภาษาอังกฤษเรียนภาษาอังกฤษได้พบว่าได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนในโปรแกรมที่ครอบคลุมการปฏิรูปการออกเสียงโดยใช้ระบบแบบหนึ่งต่อหนึ่งหรือโปรแกรมการสอนกลุ่มเล็ก
ๆ กลุ่มโปรแกรมการเรียนรู้สหกรณ์และโปรแกรมที่เน้นการอ่านอย่างกว้างขวาง
งานวิจัยที่ใช้ระยะยาวการออกแบบสุ่มเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเข้าใจวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้แน่ใจว่าประสบความสำเร็จในการอ่านสำหรับทุกผู้เรียนภาษาอังกฤษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น