วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 3

บทที่  3
วิธีดำเนินการวิจัย
การจัดทำวิจัยครั้งนี้   ได้ทำการศึกษาการศึกษาสาเหตุการอ่านไม่ออกของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชโอรส
โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน  ดังนี้
1.    ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.    เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
3.    การเก็บรวบรวมข้อมูล
4.    การวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย
                   ประชากร     คือ  การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตการวิจัยด้านพื้นที่   ประชากร  กลุ่มตัวอย่าง   ตัวแปร  และระยะเวลาในการวิจัย  ดังนี้
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  จำนวนร้อยละ10%ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชโอรสได้แก่ ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/1 จำนวน 17 คน 3/10 จำนวน 18 คน และ 3/11 จำนวน 15 คน รวมเป็นทั้งหมด 50 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย
ตาราง  1จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

รายการ
ประชากร
กลุ่มตัวอย่าง
ชั้นมัธยมศึกษาที่3
- ม.3/1
- ม.3/10
- ม.3/11
517
50
50
50
50
                    17
                    18
                    15



รวมทั้งสิ้น
150
50

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
                   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น ตอน  ดังนี้
                         ตอนที่  1     เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม    ได้แก่    เพศ ระดับชั้นและอายุ ซึ่งเป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (Check list)
                         ตอนที่  2     เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น
                         ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)  5 ระดับ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน 
                                               ดังนี้
 -   ระดับปัญหามากที่สุด                                                   ให้คะแนน    5   คะแนน
 -   ระดับปัญหามาก                                                         ให้คะแนน   4    คะแนน
 -   ระดับปัญหาปานกลาง                                             ให้คะแนน    3   คะแนน
 -   ระดับปัญหาน้อย                                                        ให้คะแนน    2   คะแนน
ระดับปัญหาน้อยที่สุด                                                     ให้คะแนน    1   คะแนน

                         สำหรับ  การสร้างเครื่องมือมีวิธีการ  ดังนี้
1.        ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง   
2.        สร้างแบบสอบถามจำนวน 1ชุด 
                   3.   นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาและแก้ไข
         4.   นำแบบสอบถามที่ผ่านการพิจารณาจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว  ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  3ท่าน   คือ  1.อาจารย์ภาวรินท์   วงษ์เกษ2.อาจารย์นภาวรรณ   มะโนรัตน์ 3.อาจารย์ อรสา  อินทุกาตะ เพื่อทดสอบหาความตรงเชิงเนื้อหา  (Content Validity)  และค่าดัชนีความสอดคล้อง  หรือค่า  IOC   พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ
5.    นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแล้ว    เสนอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอความเห็นชอบในการนำไปใช้เก็บข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล
                   ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยมีวิธีการดังนี้
1.        แจกแบบสอบถามแก่กลุ่มเป้าหมายและนัดหมายการจัดเก็บแบบสอบถาม
2.        จัดเก็บแบบ สอบถามซึ่งแบบสอบถามที่ได้รับคืน         จำนวน  50ชุด   จากแบบสอบถามทั้งหมด 50ชุด   คิดเป็นร้อยละ 100ของแบบสอบถามที่จัดส่งทั้งหมด
การวิเคราะห์ข้อมูล
หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว  ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล  ดังนี้
1.        นำแบบสอบถามที่ได้รับคืน มาตรวจสอบความสมบูรณ์พบว่า  แบบสอบถามที่ได้รับคืน 
จำนวน  50ฉบับ   คิดเป็นร้อยละ  100ของแบบสอบถามที่จัดส่งทั้งหมด
2.        ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการใช้ แบบสอบถามโดยจำแนกแบบสอบถาม  เป็น   ส่วน คือ
2.1          ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นแบบตรวจสอบรายการ(Check list)   วิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ
2.2   ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับการอ่านไม่ออกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชโอรสซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5ระดับ วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย
        () และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) 
ข้อมูลความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอ่านไม่ออกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชโอรส
2.3          วิเคราะห์โดยการจัดกลุ่มข้อมูลและเรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย
3.  เปรียบเทียบการอ่านไม่ออกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดราชโอรส
จำแนกตาม แบบสอบถามที่ได้รับคืนมาวิเคราะห์โดยการทดสอบค่าที  (t – test)

                   อนึ่ง   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล    ได้แก่
1.  ค่าเฉลี่ย  ( Mean)

                  
                   1.ค่าเฉลี่ย  ( Mean)  โดยใช้สูตร  (บุญชม  ศรีสะอาด. 2545 : 105)
                           

แทน       ค่าเฉลี่ย

Xแทน       ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
                           N             แทน                 จำนวนคนในกลุ่มตัวอย่าง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น